เมนู

ปัญหาวาระ


อนุโลมนัย


1. เหตุปัจจัย


[1233] 1. เสกขธรรม เป็นปัจจัยแก่เสกขธรรม ด้วยอำนาจ
ของเหตุปัจจัย

คือ เหตุทั้งหลายที่เป็นเสกขธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย
ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย.
[1234] 2. เสกขธรรม เป็นปัจจัยแก่เนวเสกขานาเสวกข-
ธรรม ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย.

คือ เหตุทั้งหลายที่เป็นเสกขธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป
ทั้งหลายด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย.
[1235] 3. เสกขธรรม เป็นปัจจัยแก่เสกขธรรม และเนว-
เสกขานาเสกขธรรม ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย.

คือ เหตุทั้งหลายที่เป็นเสกขธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และ
จิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย.
[1236] 4. อเสกขธรรม เป็นปัจจัยแก่อเสกขธรรม เกิดขึ้น
มี 3 วาระ (วาระที่ 4-5-6)

7. เนวเสกขานาเสกขธรรม เป็นปัจจัยแก่เนวเสก-
ขานาเสกขธรรม ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย

คือ เหตุทั้งหลายที่เป็นเนวเสกขานาเสกขธรรม เป็นปัจจัยแก่
สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย.
ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ

2. อารัมมณปัจจัย


[1237] 1. เสกขธรรม เป็นปัจจัยเนวเสกขานาเสกข-
ธรรม ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย

คือ พระอริยะทั้งหลายออกจากมรรค พิจารณามรรค พิจารณาผลที่
เป็นเสกขธรรม.
รู้จิตของบุคคลผู้พร้อมเพรียงด้วยจิตที่เป็นเสกขธรรม ด้วยเจโตปริย-
ญาณ.
ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นเสกขธรรม เป็นปัจจัยแก่เจโตปริยญาณ แก่ปุพ-
เพนิวาสานุสสติญาณ แก่อนาคตังสญาณ แก่อาวัชชนะ ด้วยอำนาจของ
อารัมมณปัจจัย.
[1238] 2. อเสกขธรรม เป็นปัจจัยแก่เนวเสกขานาเสกข-
ธรรม ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย

คือ พระอรหันต์พิจารณาผลที่เป็นอเสกขธรรม.